เมนู

ความหดหู่จิต. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้งในอกุศลธรรมเหล่านี้
ถีนมิทธะ ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไค้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อรติ (ความเอือมระอา) ตันทิ (ความคร้านกาย)
วิชัมภิกา (ความบิดคร้านกาย) ความหดหู่ใจ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ
ในอรติเป็นต้นเหล่านั้น นี้ เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการ
เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง. ส่วนการละถีนมิทธะ มีโดยโยนิโสมนสิการ
ในอารัมภธาตุเป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มต้น ชื่อว่า อารัมภธาตุ. ความเพียร
ที่มีกำลังมากกว่านั้น เพราะออกไปแล้วจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า นิกขมธาตุ.
ความเพียรที่มีกำลังมากกว่านั้นในรูป เพราะก้าวไปสู่สถานที่ข้างหน้า ชื่อว่า
ปรักกมธาตุ.
ผู้ยังโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้ง ในวิริยะ 3 ประเภท นี้จะละ
ถีนมิทธะได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุ-
ทั้งหลาย อารัมภธาตุ 1 นิกกมธาตุ 1 ปรักกมธาตุ 1 การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นเหตุนำผลมา (อาหารปัจจัย) เพื่อ
ความไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ 6 ข้อ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการเหล่านั้น เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
1. การบริโภคโภชนะที่เหลือเพื่อแต่พอประมาณ
2. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
3. การมนสิการอาโลกสัญญา
4. การอยู่แต่ในที่แจ้ง

5. ความมีกัลยาณมิตร
6. การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ.
อธิบายว่า ผู้บริโภคโภชนะเยี่ยงอาหารหัตถกพราหมณ์ ภุตตวัมมิก-
พราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ และกากมาสกพราหมณ์
แล้ว นั่ง ณ ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ความง่วงเหงาหาวนอนจะมาทับ
ถมเหมือนช้างใหญ่มาทับ. แต่เมื่อภิกษุเว้นระยะไว้ 4-5 คำแล้วดื่มน้ำเเล้วยัง
อัตภาพให้เป็นไปตามปกติ ความง่วงเหงาหาวนอนนั้นจะไม่มี. ผู้รับโภชนะ
ที่เหลือเฟือ แต่พอประมาณอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. ผู้เปลี่ยนอิริยาบถอื่น
ไปจากอิริยาบถที่ตนก้าวลงสู่ความง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ในเวลากลางคืน
มนสิการถึงแสงพระจันทร์แสงประทีปแสงคบเพลิง เวลากลางวันมนสิการถึง
แสงพระอาทิตย์บ้าง อยู่ ณ ที่กลางแจ้งบ้าง คบหาสมาคมกัลยาณมิตร ผู้ปราศ
จากความง่วงเหงาหาวนอน เช่นพระมหากัสสปเถระบ้าง ก็ย่อมละถีนมิทธะได้.
ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยกถาที่เป็นสัปปายะอาศัยธุดงค์ ในที่นั่งและที่นอน
เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า ธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ.
อุทธัจกุกกุจจะมีการเกิดขึ้น เพราะมนสิการโดยไม่แยบคายในความ
ไม่สงบแห่งจิต. อาการที่ (จิต) ไม่สงบแล้ว ชื่อว่า อวูปสมะ. โดยเนื้อความ
ได้แก่ อุทธัจจกุกกุจจนั้นนั่นเอง. ผู้ยังอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบ
แห่งจิต ให้เป็นไปมากครั้ง อุทธัจจกุกกุจจะจะเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบแห่งจิต
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบแห่งจิตนั้น นี้ เป็นเหตุ
นำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่
เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้น

แล้วบ้าง. แต่เมื่อมนสิการโดยแยบคาย ในความสงบแห่งใจ กล่าวคือสมาธิ
อยู่ การละ (อุทธัจจกุกกุจจะ) ก็จะมี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้
ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งจิต การการทำให้มาก ซึ่งโยนิ-
โสมนสิการ ในความสงบแห่งจิตนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย)
เพื่อการไม่เกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ 6 ข้อ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
คือ
1. ความเป็นพหูสูต
2. การสอบถาม
3. ความรอบรู้ (ชำนาญ) ในพระวินัย
4. การคบหาสมาคมผู้ใหญ่
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. การกล่าวคำที่เป็นสัปปายะ.
(อธิบายว่า) ผู้เรียน 1, 2, 3, 4 หรือ 5 นิกาย ด้วยสามารถแห่ง
บาลี และด้วยสามารถแห่งเนื้อความ (อรรถกถา) โดยความเป็นพหูสูตอยู่
ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ผู้มากไปด้วยการสอบถามสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัป-
ปิยะบ้าง ผู้รอบรู้ เพราะความเป็นผู้ประพฤติมาจนชำนาญ ในภาระวินัยบัญญัติ
บ้าง ผู้เข้าไปหาพระเถระผู้เจริญ คือ ผู้ใหญ่บ้าง ผู้คบหากัลยาณมิตร ผู้ทรง-
พระวินัย เช่นกับพระอุบาลีเถระบ้าง ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจ-
กุกกุจจะได้ แม้โดยการกล่าวถ้อยคำเป็นที่สบาย ที่อาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ณ